RadPra

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เหรียญพระพิฆเนศวร ปางมหาเทพ

เหรียญพระพิฆเนศวร ปางมหาเทพแห่งศิลปะของแผ่นดินจัดสร้างโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด(คุณปัญญา นิรันด์กุล) เนื้อบรอนซ์ เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ ในมหาวโรกาสมงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา จัดสร้างจำนวน ๑ แสนเหรียญ 

พิธีปลุกเสก 
ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ประธานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จประกอบพิธีผสมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ณ สตูดิโอ เวิร์คพอยท์ฯ บางพูน เพื่อประทานให้ นายปัญญา นิรันดร์กุล เชิญไปประกอบพิธีมหามังคลาภิเษกสถาปนาเหรียญพระพิฆเนศวร ปางมหาเทพแห่งศิลปะของแผ่นดิน รุ่นเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันศุกร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร จากนั้นในวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ จะจัดให้มีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารพระอัฏฐารส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และกำหนดทำพิธีมหาเทวาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ตามโบราณราชประเพณี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา





หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หลังท่านขุนพันธ์ฯ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ




นครศรีธรรมราช - สิ้นมือปราบจอมขมังเวทเมืองคอน“ขุนพันธรักษ์ราชเดช” เผยประวัติยาวนานถึง 108 ปี เจ้าพิธีสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช ปราบขุนโจรดัง “เสือดำ หัวแพร” “เสือกลับ คำทอง” และอีกสารพัดเสือ ทั้งยังสร้างคุณงามความดีอื่นๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังอีกมากมาย

วันนี้ (6 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านพักเลขที่ 764/5 ภายในซอยราชเดช ถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นนายตำรวจมือปราบชื่อดังเมื่อครั้งอดีตเจ้าของฉายา “มือปราบหนังเหนียว” “มือปราบจอมขมังเวท” “มือปราบชาตรี” และ “มือปราบดาบแดง” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของวงการข้าราชการตำรวจ และประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพิธีกรรมสำคัญของนครศรีธรรมราชหลายพิธี เช่น พิธีกรรมสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2530-2531 ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงแล้วด้วยอายุรวมถึง 108 ปี และยังเชื่อว่าเป็นท่านขุนฯ ที่ได้รับพระราชทานทินนามที่เสียชีวิตเป็นคนสุดท้ายของประเทศไทยก็ว่าได้

โดย ลูกหลานที่ใกล้ชิดและดูแล พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช จนถึงวาระสุดท้ายได้ระบุว่า พล.ต.ต.ขุนพันธ์ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงเมื่อเวลา 23.27 น.ของคืนวันที่ 5 ก.ค.49 ด้วยอาการสงบอันเนื่องมาจากโรคชราด้วยวัยที่สูงถึง 108 ปีท่ามกลางบุตรหลานที่มาดูแลจำนวนมากจนถึงวาระสุดท้ายที่ค่อยๆ หายใจแผ่วลงๆ จนสิ้นลมในที่สุด

"ขุนพันธ์"มือปราบ! ผู้ปิดตำนานเสือปล้น

หาก สืบเรื่องราวถอยหลังจะเห็นได้ชัดว่า "เสือ" ในยุคสมัยก่อนไม่ได้เกรงกลัวต่ออาญาแห่งกฎหมายเท่าไหร่นัก ด้วยเหตุที่สภาวะสังคมที่บีบคั้นอย่างหนึ่งและความยากจนอย่างหนึ่ง แต่ทั้งหมดนั้นเมื่อผู้ใดกระทำผิดแล้วก็ถูกดูดเข้าสู่วงเวียนแห่งกรรมดิ่ง ลึกเข้าไปอีก การยอมมอบตัว หรือการยอมจำนนจึงแทบไม่มีให้เห็น ฉะนั้นการเปิดฉากไล่จับกันอย่างเอาเป็นเอาตายจนถึงขั้นวิสามัญฆาตกรรมจึง กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคนั้น

มาก มายเหลือเกินที่เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อในการเข้าปะทะกันของทั้งเจ้า หน้าที่ตำรวจกับฝ่ายเสือร้าย แต่นายตำรวจผู้หนึ่งที่สร้างวีรกรรม การปราบปรามเสือร้ายทุกทิศทางทำให้เกิดฉายา"รายอกะจิ" ซึ่งคุณสัมพันธ์ ก้องสมุทร ได้บันทึกคำจำกัดความของ รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสงขลาฯ ไว้ว่า เป็น"วีรบุรุษพริกขี้หนู" ซึ่งหมายถึง พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช มือปราบเสือที่เลื่องชื่อในอดีต

ไพฑูรย์ อินทศิลา จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เข้าสัมภาษณ์ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ไว้ในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 ขุนพันธรักษ์ราชเดช นับเป็นแบบอย่างตำรวจไทยที่น่ายกย่อง ข้อมูลต่าง ๆ จากนี้ เสมือนเป็นแผ่นหน้าประวัติศาสตร์แห่งวงการตำรวจไทย และเป็นทั้งข้อคติเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลังตระหนักถึง"เสือ" อาชญากรแผ่นดินที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง

ท่าน ขุนฯ ได้พูดถึงเสือในยุคสมัยนั้นว่า เสือในขณะนั้นเป็นสิ่งที่ใครต่อใครก็อยากเป็นอยู่แล้ว เพราะนั่นย่อมหมายถึง ความยิ่งใหญ่ ความโหดร้าย และคำว่า"เสือ" กระตุ้นให้เกิดความระห่ำ ความกล้าใจพองโตและฮึกเหิม เสือพวกนี้จะมีอิทธิพล มีสมัครพรรคพวกมาก อีกทั้งในเวลานั้นการปราบปรามเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะต้องไล่ล่าบุกป่าฝ่าดงแหวกคมหนามเข้าไปในถิ่นของมัน ยิ่งถ้าเสือตัวนั้นเป็นเสือทางภาคใต้ปราบยากกว่าเสือภาคกลาง เพราะเสือภาคใต้มีวิชา มีของดี ของขลัง ติดตัว แต่ทางภาคกลางไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากนัก แต่ให้ความสำคัญกับจำนวนของสมัครพรรคพวก

"เสือ แต่ละรายมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมกว่าในปัจจุบัน แต่ถ้าจะว่าไปแล้วเสือในสมัยนั้นจะยึดถือและรักษาคำสัตย์ ท่านขุนฯได้เปรียบเทียบเสือในแต่ละยุคสมัยไว้น่าคิด เมื่อสังคมเปลี่ยน จิตใจคนก็อาจเปลี่ยนตามได้เหมือนกัน การรักษาสัจจะนี้เองผลักดันให้เกิดการตกลงกันระหว่างฝ่ายเสือ กับฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการเข้าร่วมปราบปรามเสือในก๊กอื่น ๆ เช่น ชุมเสือฝ้าย ได้มีการพูดคุย และส่วนหนึ่งก็ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่ให้ร่วมกันปราบปรามเสือ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เสือชุมอื่น ๆ เป็นอย่างมาก

ท่าน ขุนฯ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของเสือร้าย และเหตุการณ์เป็นช่วง ๆ อย่างในภาคใต้ เช่นเสือสังข์ เสืออะแวสะดอ ตาและ ส่วนเสือในภาคกลาง ก็ 4 เสือสุพรรณ อันประกอบด้วย เสือฝ้าย เสือใบ เสือมเหศวร และเสือดำ นั่นคือชื่อบรรดาเสือที่มีอำนาจ มีอิทธิพลอย่างมาก แต่การปราบเสือที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือการปราบขุนโจรอะแวสะดอ ตาและ เจ้าพ่อแห่งขุนเขาบูโด จ.นราธิวาส ขุนโจรผู้นี้มีความโหดเหี้ยม และมีเป้าหมายที่น่ากลัวมาก โดยต้องการที่จะแบ่งแยกแผ่นดินอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกครั้งที่ทำการปล้นตามหมู่บ้านจะจงใจเลือกเหยื่อที่เป็นคนไทยนับถือศาสนา พุทธเท่านั้น เมื่อปล้นแล้วจะฆ่าเจ้าของบ้านตายด้วยวิธีที่โหดเหี้ยมพิสดารทุกรายไป อย่างการจิกผมแล้วใช้"กริช" ซึ่งเป็นอาวุธประจำตัวมาทิ่มแทงที่คอจากนั้นจะกดกริชหมุนเอาเนื้อ หรือหลอดลมออกมา

สิ่ง ที่ท่านขุนฯ ยอมรับขุนโจรอะแวสะดอ ตาและ ก็เห็นจะเป็น ความที่มันมีของขลังอยู่จริง ท่านขุนฯ เคยยิงปะทะซึ่ง ๆ หน้ามาแล้ว แต่ก็ทำอะไรมันไม่ได้ การติดตามปราบปรามเกิดปะทะกันอีกครั้ง หลังจากกระหน่ำกระสุนยิงแล้วไม่สามารถเอาชีวิตมันได้ ท่านขุนฯ จึงวิ่งเข้าไปชกต่อยกันพัลวันร่วมครึ่งชั่วโมง จึงจับมันใส่กุญแจมือได้ และจากการตรวจสอบพบว่า กระสุนที่ยิงตามลำตัวไม่ถูกมันเลย ส่วนกระสุนที่ซัดเข้าที่ปาก 9 นัด มันอมกระสุนไว้ในปากโดยที่ไม่มีร่องรอยบาดแผลใด ๆ ฟันก็ไม่หัก ขุนโจรผู้นี้ยังคายหัวกระสุนทั้ง 9 นัด ลงกลางโต๊ะสอบสวน

เห็น ชัดว่า คาถาอาคมในยุคสมัยก่อนมีบทบาทมากที่ทำให้"เสือ" มีความกล้า และไม่เกรงกลัวเจ้าหน้าที่ วิชาอาคมนั้นมีมากมาย อย่างวิชามหายันต์ วิชาตรีนิสิงเห ไทยศาสตร์ขาว ผ่านพิธีเสกว่านกิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงาดิบ พิธีแช่ยาแช่ว่าน คาถาอาคมนั่นก็คือส่วนหนึ่งที่สร้างความฮึกเหิมให้กับเสือแล้วยังมีเครื่อง รางของขลังอีกหลายอย่าง เช่น พระประหนังอยุธยา แหวนพระรอด ตะกรุดโทน เป็นต้น หลังจากการคุมขังโจรผู้นี้แล้ว ไม่เกิน 10 วัน เหมือนมันรู้ว่าจะถูกตัดสินประหารชีวิต จึงตัดสินใจกินยาพิษฆ่าตัวตาย

ไม่ เพียงแต่ ขุนโจรอะแวสะดอ ตาและ ที่ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการไล่ล่า ยังมี"เสือสังข์" เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาในการติดตามหลายเดือน อาวุธปืนก็ทำอะไรมันไม่ได้เหมือนกัน พอมีจังหวะในการปะทะ ท่านขุนก็บุกใส่เปลี่ยนจากการยิงเป็นการเข้าแลกด้วยมือเปล่า หมัด เท้า เข่า ศอก รวมทั้งใช้ปากกัด เสือสังข์ตัวใหญ่มาก เสือสังข์กัดขุนพันธ์ไม่ยอมปล่อย ขุนพันธ์จึงใช้ง่ามหัวแม่เท้าขวาหนีบพวงสวรรค์เสือสังข์ และกดให้เสือสังข์ชิดติดกับพื้น มันชักมีดพร้าที่เหน็บอยู่ที่เอวมาเชือดคอ แต่คมมีดเอาขุนพันธ์ไม่อยู่ ในที่สุดเสือสังข์ก็สิ้นฤทธิ์และตายในที่สุด ท่านขุนฯ ยอมรับว่าการปราบเสือสังข์นั้นทำให้ท่านเกือบเอาตัวไม่รอด.


ประวัติของ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช

สำหรับ ประวัติของ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 8 เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้ และในจังหวัดอื่นๆ ที่ไปดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้านประวัติศาสตร์คติชนวิทยาและไสยศาสตร์เป็นพิเศษ มีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ และวารสารต่างๆ หลายเรื่อง จนถึงปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า "ท่านขุน"

พล ตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวัดที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ พออ่านสมุดข่อยได้บ้างจึงได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็น สมภาร และอาจารย์นามสมภารรูปต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เองท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งด้วย ชื่อนายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ใครๆ เรียกกันว่าหลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้ คือ ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม 1-2-3 จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดี

หลัง จากนั้นท่านจึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้ง

เมื่อ ครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ.2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน)

พอ เรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ขณะ เรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญพอสมควร ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 8 ในปี พ.ศ.2467 ต่อมาในปี 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ.2472

หลัง จากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ.2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง

ที่ พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

นอก จากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนา ไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท

หลัง จากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช" และในปี พ.ศ.2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา

ใน ปี พ.ศ.2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ.2481 หัวหน้าโจรชื่อ "อะแวสะดอ ตาเละ" นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" หรือแปลว่า “อัศวินพริกขี้หนู” และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง

พ.ศ.2482 ขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ.2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ.2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี

พ.ศ.2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวันยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท

ครั้ง นั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง" ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2,000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4 เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ขณะนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย

พล.ร.ต. หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้น และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล

ต่อ มาในปี พ.ศ.2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯ กลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่นนอกจากงานด้านปราบปราม ซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้าง ชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมือง พัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น

ด้วย ความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ.2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.2507ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่ง หน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไปและเป็นคนที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆนับได้ ว่าเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูง ขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ.2516 เป็นต้น

นอก จากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์

นอก จากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่น มวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียนต่างๆของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่อง กรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ และต่อมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน "รูสมิแล" วารสารของมหาวิทยาลัยปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ.2526 งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ใน สารนครศรีธรรมราช หนังสืองานเดือนสิบวิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ

ใน ด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อสมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน

ตลอดระยะเวลาที่รับราชการที่ผ่านมา ขุนพันธรักษ์ราชเดช ผู้หาญกล้าเสียสละเพื่อประชาชน โดยยึดมั่นปณิธานไว้..."เคารพ เอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปรานีต่อประชาชน อดทนต่อความเจ็บปวด ไม่หวั่นไหวต่อความลำบาก ไม่มักมากในลาภผล บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน" 

ข้อมูลด้านอื่นๆ 

สายวิชา : เชี่ยวชาญเพลงมวยเสียมก๊ก (มวยไทย) เพลงดาบสายทักษิณ กระบี่กระบอง และวิชาการต่อสู้อีกหลายแขนง เป็นศิษย์ฆราวาสแห่งสำนักเขาอ้ออันเกรียงไกร สืบทอดยอดวิชาหลายแขนง อาทิ ยอดวิชาคงกระพัน นะจังงัง มหาอุด ผิวกายคงทนต่อศาสตราวุธ นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์แผนโบราณ ว่านและสมุนไพรต่าง ๆ

อาวุธคู่กาย : เดิมมีปืนเมาเซอร์ ต่อมาได้ฝึกวิชาคงกระพัน ชาตรีจนแตกฉาน จึงไม่จำเป็นต้องพกปืนอีก แต่อาศัยเพียงสนับมือและเพลงมวย ในการปราบปรามเหล่าโจรร้าย เสือร้ายก๊กต่าง ๆ ภายหลังได้รับมอบศาสตราวุธชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจาก พระยาพิชัยดาบหัก ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้ายิ่งนัก ในระยะหลังการออกปราบปรามโจรร้าย ท่านขุนพันธ์จึงอาศัยเพียงดาบเล่มนั้น กับสนับมือออกปราบปราม เหล่ามิจฉาชีพตลอดมา จนได้ฉายา " ขุนพันธ์ดาบแดง " เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2000บาทเพื่อไม่ให้ปราบปราม

ผลงาน : กำหราบชุมโจรมานับไม่ถ้วน อาทิ เสือฝ้าย เสือดำ เสือมเหศวร (ที่ชาวเสียมก๊กเอามาทำเป็นหนังฟ้าทะลายโจร แต่ตัวจริงถูกปราบโดยท่านผู้นี้) โดยเฉพาะโจรแถบทางใต้ล้วนร้ายกาจทั้งสิ้น ดังนั้นขุนพันธ์จึงต้องใช้กลยุทธ์ข่มนาม อาทิ การตัดหัวเสียบไว้หน้าโรงพัก เอาหัวโจรร้ายมาทำที่เขี่ยบุหรี่ เช่น หัวเสือสายแห่งสุราษฎร์ธานี ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของแคว้นต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไป เป็นที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ เป็นที่รักใคร่ของชาวประชาราษฎรทั้งปวง นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเสียมก๊ก และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูง ขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา

การต่อสู้ครั้งสำคัญ : ดวลกับจอมโจรอะแวสะดอ เจ้าพ่อเขาบูโดแห่งแคว้นนราธิวาส อาแวสะดอเป็นจอมโจรที่ปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธ ทางราชการพยายามปราบหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเรียกตัวท่านขุนพันธ์มา จอมโจรผู้นี้มีวิชาคงกระพันเป็นเยี่ยม ท่านขุนพันธ์ยืนยันว่า อะแวสะดอถูกยิงหมดลูกโม่ จนร่างล้มฟุบลง แต่กลับลุกขึ้นมาได้ และบ้วนกระสุนทิ้งออกมาจากปาก ท่านขุนพันธุ์เห็นดังนั้นจึงล้วงสนับออกมาสวมที่มือ แล้วเข้าต่อสู้ประชิดตัว อาศัยความชำนาญในวิชาป้องกันตัว จึงสามารถจับตัวจอมโจรอาแวสะดอได้
นอกจากนี้ท่านขุนพันธ์ฯ ยังได้ร่ำเรียนวิชา อาคม ต่างๆ และฝากตัวเป็นศิตย์ พระเกจิชื่อดังหลายรูป ที่สำนักเขาอ้อ ด้วย จึงทำให้ท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าไม่แพ้พระเกจิชื่อดังเลยค่ะ

พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี ปี 2543 รุ่นแรก ชุดเหรียญรับทรัพย์ และขวัญถุง

ชุดเหรียญรับทรัพย์ และขวัญถุง รุ่นแรก พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ปัตตานี ปี 2543

พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ หรือ พระครูอนุศาสน์กิจจาทร วัดอรัญวาสิการาม พระเกจิอาจารย์ดินแดน"ลังกาสุกะ" พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจชาวบ้านแถบนั้นมักเรียกท่านว่า ตาหลวง

ช่วงชีวิตในวัยเด็กของ พ่อท่านเขียว ท่านก็เหมือนเด็กชาวบ้านในต่างจังหวัดทั่วไป หลังจากเรียนจบ ป.4  บิดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงต้องออกมาทำงานช่วยครอบครัว เพื่อเลี้ยงแม่และน้องๆ ซึ่งในเวลานั้นท่านก็สู้อดทนรับจ้างทำงานทุกอย่าง จนกระทั่งอายุได้ 20 ปี จึงตัดสินใจบวช ตามประเพณีนิยม ณ.วัดนางโอ (ปัจจุบันคือวัดบุพนิมิตร) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2492นอกจากนี้ พ่อท่านเขียวยังได้ศึกษาในทางธรรม ท่านปฏิบัติเคร่งครัด จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา ในระหว่างนี้ท่านเองเป็นสหธรรมมิกกับ “พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ” ด้วยความที่วัดอยู่ใกล้กัน ท่านทั้งสองจึงได้เคยร่วมสังฆกรรม สนทนาธรรม และร่วมในพิธีกรรมต่างๆด้วยกันเสมอโดยเฉพาะเมื่อคราวที่ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ สร้าง พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นปี2497 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมสร้างพระอุโบสถ วัดช้างให้นั้น พ่อท่านเขียว เป็นผู้หนึ่งที่คลุกเนื้อผสมว่าน และร่วมอยู่ในพิธีกรรมเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างที่ท่านอาจารย์ทิม อัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด เพื่อปลุกเสกพระเครื่องเนื้อว่านในคราวปี2497  และร่วมพิธีกรรมปลุกเสกอีกหลายวาระจนเมื่ออาจารย์ทิมท่านมรณภาพแล้ว ยังมีพิธีกรรมที่สำคัญอีก 1 วาระ คือปลุกเสกหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2524 ปัจจุบันเป็นที่เสาะหากันมาก เพราะมีประสบการณ์คุ้มภยันตราย แคล้วคลาดปลอดภัยแก่ผู้ที่นับถือนอกจากนี้ พ่อท่านเขียวยังได้รับนิมนต์ ไปปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ในหลายพิธีตลอดมาทั้งไกลและใกล้จนถึงปัจจุบัน นับว่าพ่อท่านเขียว เป็นพระเกจิสำคัญถือเป็นเพชรอีกรูปหนึ่ง แห่งเมืองใต้ เลยทีเดียวพ่อท่านเขียวท่านมีวิชาที่ทำให้ท่านโด่งดังทั้วฟ้าเมืองไทย คือ วิชารับทรัพย์เพิ่มทรัพย์ พ่อท่านเขียวท่านนำวิชานี้มาสร้างเป็น ผ้ายันต์รับทรัพย์เพิ่มทรัพย์ การพุทธาภิเษกต้องเข้มขลัง เป็นไปตามตำราทุกประการ เพราะผ้ายันต์ของท่านนั้นสามารถพกไว้ในกระเป๋ากางเกงได้ ไม่ว่าหญิงหรือชายไม่มีเสื่อม ซึ่งมีลูกศิษย์ใกล้ชิดเคยถามท่านในข้อนี้ ท่านว่า ทองอยู่ที่ไหนก็คือทอง มิใช่หิน หรือตะกั่วพ่อท่านเขียวมีเมตตาสูงกับเหล่าศิษย์ และผู้ที่ไปขอให้ท่านเสกเป่าบรรเทาทุกข์ แก้ไขสิ่งที่ขัดข้องในชีวิต ท่านเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ไม่ว่ายากดีมีจนมาจากไหนไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ โดยไม่แบ่งแยกไม่เคยเรียกร้องสิ่งใด และพ่อท่านเขียวไม่จับ หรือรับเงินที่มาถวายเลย

                                                          ขวัญถุง

                                                   

                                 รับทรัพย์






พระยอดขุนพล รุ่นแรก หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ เนื้อมหาว่านขาว

พระยอดขุนพล รุ่นแรก หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ เนื้อมหาว่านขาว

พระยอดขุนพล รุ่นแรก หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่ สุพรรณบุรี พระยอดขุนพล คือ พระที่มีอานุภาพทางการเป็นยอด คำว่า “ขุนพล” นี่ถือว่า เป็นยอดอยู่แล้ว นี่เป็นยอดยิ่งกว่า จึงเรียกว่า “ยอดขุนพล” พิมพ์เดิม ครั้งแรกสร้างปี 2497 โดย ท่าน อาจารย์ชุม ไชยคีรี และ ท่านพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ร่วมกันสร้าง โดยอัญเชิญผงเก่า คือ เมื่อปี 2496 ท่านได้นิมิต ไปว่ามีหลวงปู่ องค์หนึ่งมาแนะนำ ให้ท่านสร้างพระคือ พระผงเทพนิมิต หลังจากนั้นหลวงปู่ องค์ที่ท่านเห็นในนิมิต ได้เข้าประทับทรง บอกว่าท่านคือ หลวงปู่คง วัดตาล (เดิมท่านอยู่วัดตาล แล้วย้ายมาอยู่วัดแค ) เป็นอาจารย์ของขุนแผน ผงนี้ขั้นหัวเชื้อ ปัจจุบัน เก็บอยู่ที่วัดศรีจันต์ อย่างที่บอกไปแล้ว และ นำมาสร้างพระยอดขุนพล รุ่นนี้แหละเป็นรุ่นที่ ๒ แบบพิมพ์ได้จำลองแบบเดิม เพิ่มเติมเอกลักษณ์ของเมืองสุพรรณคือ ปางป่าเลไลยก์ พระพุทธรูปคู่เมืองสุพรรณ ตรงที่เพิ่ม ลิงถวาย รังผึ้ง ช้างถวาย คบน้ำ ไว้ด้านซ้ายด้านขวา มีเทวดา ๒ องค์ พนมมืออัญชลีอยู่ด้านบน จึงเกิดพระยอดขุนพลตำรับดังเดิมที่มีคุณค่ามาก นอกจากผงศักดิ์สิทธิ์ ที่มีที่มาอันแสนอัศจรรย์แล้ว ท่านเจ้าอาวาสยังได้เอาผงพระเก่าที่หลวงปู่กล้าย วัดหงส์รัตนาราม ที่ท่านลบไว้ เมื่อปี 2498 และ มีประวัติ ว่าผ่านการปลุกเสกจากยอดเกจิอาจารย์ ดังมีบันทึก ของวัดศรีจันต์ ดังนี้ “ นายอุทัย วรรณธนบูรณ์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และนายอุดม วรรณธนบูรณ์สมัยยังเป็นเด็กเห็นหลวงปู่ กล้าย ทำผงพระ ได้นำผงกับพระเครื่องขอให้เกจิผู้ใหญ่ในสมัยนั้นที่หลวงปู่กล้ายรู้จักปลุกเสกให้คือ 1.หลวงพ่อสด วัดปากน้ำปลุกเสกด้วยวิชาธรรมกายพร้อมกับพระวัดปากน้ำรุ่น 3 2.เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ปลุกเสกในปี 2501 3.หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษ ปลุกเสกให้ 3 เดือน 4.หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี เสกให้เกือบ 1 ปีเต็ม 5.นอกจากนี้หลวงปู่กล้ายยังนำผงและพระไปให้หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว หลวงพ่อเต๋ คงทอง หลวงพ่อสม วัดดอนบุปผาราม หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง หลวงพ่อเปลื่อง วัดสุวรรณภูมิ หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลก์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมก็ปลุกเสกให้ ยอดผงเก่านี้ นำมาสร้างพระยอดขุนพล รุ่นนี้”ผงดี รูปแบบดี เจตนาดี ที่สำคัญ หลวงปู่นามท่านสร้างเอง ปลุกเสกเอง และมอบให้วัดศรีจันต์นำไปสร้างถาวรวัตถุ พระยอดขุนพลนี้ จึงขอสรุปความดีความเด่นไว้ ณ ที่นี้ ๕ ประการ 1. พระดีเป็นยอดขุนพล ยอดคน ยอดพระ 2.ประวัติการสร้างดีเด่นจากวัดต้นตำรับผงเก่า จัดเป็นพระยอดขุนพล รุ่นแรกของเมืองสุพรรณ ที่ครบครัน ตามสูตร 3.ผงเก่า ขรัวปู่คง ยอดผง ที่หาที่ไหนไม่ได้แล้ว ผงขั้นหัวกระทิ หัวเชื้อ แรงทุกองค์ แม้ขุนแผน เองยังต้องใช้ผงนี้ 4.ผงเก่าของยอดเกจิขลัง จะหาแต่ละองค์ราคาเป็นแสน ถ้าจะเอาพุทธคุณ ก็ต้องยอดขุนพลองค์นี้ ได้เปรียบเพราะไม่ต้องห้อยเกจิหลายองค์ องค์เดียวเสกครบ 5.ยอดเกจิเมืองสุพรรณ หลวงปู่นาม เสกฟ้าลั่น สร้างและ ปลุกเสกในกุฏิเป็นเดือน พุทธคุณแรงที่สุด ต่อไปต้องพูดกันว่า “หาพระยอดขุนพล ต้องยอดขุนพล วัดศรีจันต์” พุทธคุณ เน้นหนักทางด้านเมตตาเป็นพิเศษ แคล้วคลาดคงกระพัน เป็นหัวหน้า เป็นเจ้าคน นายคน เป็นยอดคน มีบารมี เป็นมหาอำนาจ นี่แหละ ของดี ที่รอเวลาดัง สร้าง 2 เนื้อ1.เนื้อมหาว่านดำแก่ว่านหิ่งหาย (ดับทุกดับร้อน ดับภัย ดับอันตรายดับสิ่งไม่ดี) ธรรมดา สร้าง 3,500 องค์ , ฝังตะกรุดเงินคู่ สร้าง 900 องค์2. เนื้อมหาขาวแก่ผงปัถมังเมตตามหานิยม นะหน้าทอง คนรักเทวดานิยมยินดี ธรรมดา 3,500 องค์ , ฝังตะกรุดเงินคู่ สร้าง 900 องค์ขนาดความสูง 4.5 ซ.ม. กว้าง 4 ซ.ม.






วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระผงสุริยัน - จันทรา (จตุคามรามเทพ) พิมพ์เล็ก รุ่น 3 พ.ศ. 2549 จัดสร้างโดย พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล (ชุดนี้มีมวลสารที่เก็บสะสมมาจากหลายๆ ปีรวมกัน)

พระผงสุริยัน - จันทรา (จตุคามรามเทพ) พิมพ์เล็ก รุ่น 3 พ.ศ. 2549
จัดสร้างโดย พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล (ชุดนี้มีมวลสารที่เก็บสะสมมาจากหลายๆ ปีรวมกัน) 
(Jartukam batch Sanpetch 3 after batch Sanpetch Year 1987) 


               " พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้เป็นกำลังสำคัญในการสร้าง พระจตุคามรามเทพ รุ่นแรก เมื่อปี 2530 ยังได้
รับความเคารพนับถือจาก ผู้ศรัทธาเลื่อมใส พระจตุคามรามเทพเหมือนเดิม ดังจะเห็นได้จากเมื่อไม่กี่เดือนก่อน ท่านได้สร้าง
พระจตุคามรามเทพ พิมพ์น้ำตาลแว่น รุ่น 2 พิมพ์กลมใหญ่ ที่เรียกว่า "พระสุริยัน" ก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะ
คนส่วนใหญ่ยังให้ความเคารพศรัทธาในตัวท่านเสมอ มาถึงวันนี้ท่านได้สร้าง "พระจันทรา" หรือ พระจตุคามรามเทพ พิมพ์
น้ำตาลแว่น (พิมพ์กลมเล็ก) เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 4.5 ซม. จำนวน 129,999 คู่ มี 2 สีคือ สีน้ำตาลและสีขาว โดยจะประกอบ
พิธีที่ศาลหลักเมืองกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายนนี้ พร้อมกันนี้ก็ได้สร้าง องค์พ่อจตุคามรามเทพปรก
7 เศียร แบบบูชา สูง 9 นิ้ว จำนวน 1,699 องค์ รวมทั้งองค์แบบลอยองค์ พิมพ์ใหญ่ สำหรับผู้ชาย สูง 4.5 ซม. พิมพ์เล็ก
สำหรับผู้หญิง สูง 2.2 ซม. จำนวนสร้าง 12,000 คู่ มีเนื้อทองคำ เงิน และสัมฤทธิ์

1. พระผงสุริยัน - จันทรา จตุคามรามเทพ พิมพ์เล็ก น้ำตาล - ขาว     (Chantra Jartukam, Brown - White) 



    

    

ชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี


วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง


           1. เพื่อนำรายได้ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
           2. เพื่อจัดสร้างอาคารเรียน จัดหาอุปกรณ์การศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ วังไกลกังวล เฉลิมพระเกียรติวิทยาเขตชะอำ
           3. เพื่อจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพด้านสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วย
งานภาครัฐและภาคเอกชน
           4. เพื่อเป็นศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ และสื่อการศึกษาสำหรับบริการหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สนับสนุนการศึกษา
ชุมชน แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน และยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน




ปฐมเหตุการจัดสร้าง


           ในปี พ.ศ.2530 ได้รับพระราชดำริจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้จัดตั้งโรงเรียนสารพัดช่างวังไกล
กังวลขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
           ในปี พ.ศ.2542 นางปรียา ฉิมโฉม คหบดี อ.ชะอำ จ.ประจวบฯ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบ้านหนองจันทร์ ตำบลเขา
ใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดประจวบฯ ขนาดพื้นที่ 27 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ท่านได้
พระราชทานที่ดินผืนนี้ แก่มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อให้ประโยชน์ด้านการศึกษา นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประ-
ธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและคณะผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล มีดำริร่วมกันที่จะใช้สถานที่แห่งนี้
จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลแห่งที่ 2 ขึ้น เพื่อให้เป็นอุทยานการศึกษาเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ด้านการ
อาชีพแก่กุลบุตรกุลธิดา จะได้มีความรู้ไว้ประกอบสัมมาชีพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไปในภายภาคหน้า ทั้ง
เป็นการแบ่งเบาภาระของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลแห่งแรก ซึ่งขณะนี้ ทั้งขนาดพื้นที่ อาคารเรียน อุปกรณ์การศึกษา ตลอด
จนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ไม่สามารถขยาย เพื่อรองรับความต้องการเข้าศึกษาของเยาวชนซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้
           ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราช
สมบัติครบ 60 ปี ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลก และในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่พระองค์ท่านจะมีพระชนมายุ 80
พรรษา จึงเป็น โอกาสสมควรยิ่งที่พสกนิการชาวไทยทั่วประเทศจะได้ถวายความจงรักภักดีร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ เพื่อจัด
สร้างอาคารเรียนของวิทยาลัยแห่งนี้ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล ได้จัดสร้าง
พระเครื่องยอดนิยม ชุด "พระเบญจภาคี ภ.ป.ร." ขึ้นเพื่อมอบให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์สร้างอาคารเรียนแห่งนี้ ทั้งนี้
ทางวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณสูงยิ่งโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.
ประดิษฐานที่ด้านหลัง พระเครื่องบูชาชุดนี้ทุกองค์จึงขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้รวมพลังถวายความจงรักภักดี
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการสั่งจองพระเครื่องบูชาชุด " พระเบญจภาคี ภ.ป.ร." นำรายได้จากการบริจาคไปจัด
สร้างอาคารวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลแห่งที่ 2 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านให้ขจรขจายยิ่งๆ ขึ้นไป 


รายชื่อพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ




1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ กทม.
2. สมเด็จพระมหาธีรจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กทม.
3. สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) วัดเทพศิรินทร์ กทม.
4. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม กทม.
5. สมเด็จมหารัชมัคลาจารย์ (ช่วง วรปุณฺโณ) วัดปากน้ำ กทม.
6. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
7. หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา
8. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา
9. หลวงพ่อพูล วัดบ้านแพน อยุธยา
10. หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
11. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เพชรบุรี
12. หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี
13. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
14. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา
15. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา
16. หลวงพ่อทอง วัดพระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
17. หลวงพ่อเนื่อง วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.
18. หลวงพ่อทองสืบ วัดอินทรวิหาร กทม.
19. หลวงปู่แหวน วัดมหาธาตุ กทม.
20. หลวงพ่อธงชัย วัดไตรมิตร กทม.
21. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย นนทบุรี
22. หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ ปทุมธานี
23. หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม ปทุมธานี
24. หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย ปทุมธานี
25. หลวงพ่อวิเชียร วัดมูลจินดา ปทุมธานี
26.. หลวงพ่อทองหล่อ วัดคันลัด สมุทรปราการ
27. หลวงพ่อสมโภชน์ วัดแค สมุทรปราการ
28. หลวงพ่อจรัญ วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ
29. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ อยุธยา
30. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
31. หลวงพ่อสงวน วัดเสาธงทอง ลพบุรี
32. หลวงพ่อสมพร วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี
33. หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส สุพรรณบุรี
34. หลวงพ่อสอิ้ง วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
35. หลวงพ่อสุนทร วัดเพชรสมุทร สมุทรสงคราม
36. หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
37. หลวงพ่อแดง วัดอินทาราม สมุทรสงคราม
38. หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก สมุทรสงคราม
39. หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
40. หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดโสธร ฉะเชิงเทรา
41. หลวงพ่อสมชาย วัดโพรงอากาศ ฉะเชิงเทรา
42. หลวงพ่อฉิ้น เมืองยะลา
43. หลวงพ่อกลัง เขาอ้อ
44. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง
45. หลวงพ่อจ่าง วัดน้ำรอบ สุราษฏร์ธานี
46. หลวงพ่อบุญศรี วัดนาคาราม ภูเก็ต
47. หลวงพ่อเสนอ วัดตะโปทาราม ระนอง
48. หลวงพ่อห่วง วัดดอนกาหลง สตูล
49. หลวงพ่อนวน วัดประดิษฐานราม นครศรีธรรมราช
50. หลวงพ่อผัน วัดทรายขาว สงขลา
51. หลวงพ่ออุทธีร์ วัดเวฬุวัน ร้อยเอ็ด
52. หลวงพ่อเที่ยง วัดพระบาทเขากระโพง บุรีรัมย์
53. หลวงพ่อทองจันทร์ วัดคำแคน กาฬสิทธิ์
54. หลวงพ่อสมเกียรติ วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี
55. หลวงพ่อไพรินทร์ วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก
56. หลวงพ่อแขก วัดอรัญญิก พิษณุโลก
57. หลวงพ่อธงชั วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
58. หลวงพ่อสมพงศ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว นครปฐม
59. หลวงพ่อศรี วัดหน้าพระลาน สระบุรี
60. หลวงพ่อบุญธรรม วัดตะเคียน อ่างทอง
61. หลวงพ่อทอด วัดหนองสุ่ม สิ่งห์บุรี
62. หลวงพ่อประเทือง วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี
63. หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม นครปฐม
64. หลวงพ่อแก่น วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา
65. หลวงพ่อเกตุ วัดอุดมธานี นครนายก
66. พระครูอนุกูลพิศาลกิจ วัดบางพระ นครปฐม
67. พระครูเฉลียว วัดมหาธาตุ กทม.
68. พระครูประดิษฐ์นวกิจ วัดท่าตะคร้อ กาญจนบุรี
69. พระครูภาวนาวรกิจ วัดสันติคีรีศรีบรมธาตุ กาญจนบุรี


รูปภาพการรับมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากวัดต้นกำเนิด ทั้ง 5 วัด และผงอิทธิเจ ปัตทะมัง จากเจ้าประคุณสมเด็จ

(เจ้าอาวาส ณ วัดต้นกำเนิด)
1. พระเทพวิสุทธิเมธีเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารมกรุงเทพ
2. พระครูสุจิต ธรรมวิมลเจ้าอาวาสวัดนางพญาจ.พิษณุโลก
3. พระครูพิศาลธรรมนิเทศก์เจ้าอาวาสวัดมหาวันจ.ลำพูน
4. พระอาจารย์บุณภิสิทธิ์ สุทธิญาโณเจ้าอาวาสวัดพิกุลจ.กำแพงเพชร
5. พระมหาวิเชียร กลุยาโณเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุจ.สุพรรณบุรี
   
มวลสาร พระสมเด็จวัดระฆัง (พิมพ์ใหญ่)
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
มวลสาร พระนางพญา (พิมพ์เข่าโค้ง)
วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
มวลสาร พระผงสุพรรณ (พิมพ์หน้าแก่)
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี
มวลสาร พระรอด (พิมพ์ใหญ่)
วัดมหาวัน จ.ลำพูน
มวลสาร พระกำแพงซุ้มกอ (พิมพ์ใหญ่)
วัดพิกุล จ.กำแพงเพชร
1. สมเด็จวัดระฆัง (พิมพ์ใหญ่) Somdej Wat Rakang (PimYai)
 
แคล้วคลาดและเมตตามหานิยม


           เป็นพระเครื่องบูชาที่ได้รับสมญานามว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง" วิเศษด้วยพุทธานุภาพ เข้มแข็งในกฤตยาคม
เอกอุในประสพการ์ และอิทธิปาฏิหารย์เพียบพร้อมด้วยพระพุทธคุณ ทั้งแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม


2. พระนางพญา (พิมพ์เข่าโค้ง) Phra Nangpaya (Pim KaoKhong)
 
เมตตามหานิยมและเสน่ห์


           เป็นพระเครื่องบูชายอดนิยมชั้นนำระดับเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีพุทธคุณสูงทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ
และเป็นยอดในทางด้านเสน่ห์ พุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ในองค์พระ เมื่อมีผู้นำไปบูชาแล้วมีประสพการณ์ ก็โจทย์ขานเล่าลือไปทั่ว
ทั้งแผ่นดิน 


3. พระผงสุพรรณ (พิมพ์หน้าแก่) Phra Pong Suphan (Pim NhaKae)
 
แคล้วคลาดปลอดภัยและเมตตามหานิยม

           เป็นสุดยอดพระเครื่องบูชาองค์หนึ่งในชุดพระเบญจภาคี มีคุณวิเศษในด้านแคล้วคลาดปลอดภัยสยบสิ่งที่เป็นอัปมงคล
อุดมด้วยเมตตามหานิยมเหมาะสำหรับพกพาติดตัวเมื่อเดินทางไกล

4. พระรอด (พิมพ์ใหญ่) Phra Rod (PimYai)
 
แคล้วคลาดภยันตรายและโชคลาภ

           เป็นพระเครื่องเพชรน้ำเอกของจังหวัดลำพูน จัดอยู่ในทำเนียบพระหลักสุดยอดนิยมองค์หนึ่งของภาคเหนือตอนบน
มีพุทธคุณสูงทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ และดียิ่งทางด้านโชคลาภ และความสำเร็จต่างๆ ที่เราประสงค์ 

5. พระกำแพงซุ้มกอ (พิมพ์ใหญ่) Phra GumPangSoomKor (PimYai) 
 
โชคลาภและคงกะพันชาตรี

           เป็นพระเครื่องเพชรน้ำเอกของจังหวัดพระกำแพงเพชร จัดอยู่ในทำเนียบพระหลักสุดยอดนิยม มีพุทธานุภาพสูงใน
ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านโชคลาภ และคงกะพันชาตรี ผู้ใดมีพระเครื่ององค์นี้ไว้บูชา ทั้งชีวิตจะไม่พบกับความยากจน ขาดแคลน
มีแต่จะทวีทรัพย์ยิ่งๆ ขึ้นไป